รู้จักเรา
สืบเนื่องจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
หรือ ธ.ก.ส. ดำเนินงานตามปณิธานอันแนวแน่ของอาจารย์จำเนียร
สาระนาค ผู้บุกเบิกและมอบเจตนารมณ์
แก่พนักงานธ.ก.ส.รุ่นแรกๆ
จนกลายเป็นรากฐานอันเข้มแข็งขององค์กรในการช่วยเหลือและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย
มาโดยตลอดในทศวรรษที่ ๕ ซึ่งเป็น ทศวรรษแห่งการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ มาประยุกต์ใช้ ในการทำงานและบริหารองค์กรปลูกฝังความพอเพียงในวิถีเกษตรกรไทยอย่างเป็นระบบ
พร้อมทั้งจุดประกายความคิดและเป็นที่มาของการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ความเป็นมาของการจัดตั้งธนาคาร การทำงานภายใต้แนวทางที่อาจารย์จำเนียร
สาระนาค วางไว้ วิวัฒนาการของธนาคารตั้งแต่เริ่มแรก ปัจจุบันและพัฒนาการที่ธนาคารพร้อมจะก้าวไปในอนาคต ซึ่งล้วนแล้วแต่ดำรงตามแนวคิด “เคียงคู่ รู้ค่า” เพื่อแสดงให้เห็นศักยภาพของธนาคาร
ที่พร้อมขับเคลื่อนและเคียงคู่กับเกษตรกรไทยตลอดไป
ปี พ.ศ. 2552 ธนาคารได้แต่งตั้งคณะทำงานจัดตั้งพิพิธภัณฑ์
และ
หอประวัติ ธ.ก.ส. และคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดและจัดตั้งหอจดหมายเหตุ ธ.ก.ส. โดยนำเสนอในกรอบ “พิพิธภัณฑ์ เคียงคู่รู้ค่า”
มีแนวคิดในการดำเนินงาน 3 ส่วน คือ
- เคียงคู่ (Beside) แสดงพันธกิจและการดำเนินงานของธนาคารที่อยู่เคียงข้างเกษตรกรลูกค้า
- รู้ค่า (The Value) แสดงถึงอุดมการณ์ ความมุ่งมั่น มุ่งหวัง และนโยบายของธนาคารที่เติมเต็มชีวิตให้เกษตรกรลูกค้าในด้านการสร้างงานสร้างอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างมั่นคงและยั่งยืน
- วิวัฒนาการ ธ.ก.ส. (BAAC Development) แสดงความเป็นมาการดำเนินการในปัจจุบันและความมุ่งหวังของธนาคารในอนาคต
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์
- เพื่อเป็นสถานที่แห่งความภาคภูมิใจ ถ่ายทอดความทรงจและจิตวิญญาณร่วมสมัยของธ.ก.ส.
- เพื่อเป็นที่รวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้และวิวัฒนาการสินเชื่อเพื่อการพัฒนาชนบทไทยซึ่งก่อกำเนิดโดยอาจารย์จำเนียร สาระนาค
- เพื่อเป็นเครื่องมือในการทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมาของ ธ.ก.ส. รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
- เพื่อเป็นสถาบันถาวรในการรวบรวมสงวนรักษา สื่อสาร และจัดแสดงนิทรรศการเอกสาร เครื่องมือเครื่องใช้ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของ ธ.ก.ส.
- เพื่อเป็นสถานที่ส่งเสริมให้ผู้สนใจโดยเฉพาะเยาวชน ตระหนักในความสำคัญของภาคเกษตรกรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ
- เป็นแหล่งการเรียนรู้ใหม่แก่สังคม ซึ่งสอดคล้องกับการเป็นองค์กร CRS (Corporate Social Responsibility) โดยให้บริการแก่พนักงาน เกษตรกร สถาบันเกษตรกร นักเรียนนักศึกษา ตลอดจน
ชาวต่างชาติที่มาศึกษาดูงานและบุคคลทั่วไป
พิพิธภัณฑ์ : เรียนรู้อดีตเพื่อปัจจุบัน
การเรียนรู้โดยเฉพาะจากพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ จะช่วยให้พนักงาน ธ.ก.ส. รำลึกถึงเหตุการณ์ ในอดีต รากเหง้าจิตวิญญาณขององค์กร เกิดจิตสำนึกแห่งความเป็น ธ.ก.ส. (Sense of Dignity) เกิดความเข้าใจ เห็นคุณค่า รู้จักตนเองและภาคภูมิใจที่เป็นพนักงาน ธ.ก.ส.
พิพิธภัณฑ์ของเราจะเป็นพิพิธภัณฑ์ชั้นนำที่ทันสมัย ไม่เน้นการเรียนรู้ชิ้นวัตถุ แต่จะเน้นการเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เน้นกระบวนการเรียนรู้แสวงหาที่มีการเคลื่อนไหว มีชีวิต เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม นอกจากพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ ยังเป็นส่วนงานใหม่ขององค์กร ที่สะท้อนความมั่นคงทางสังคม วัฒนธรรม ลักษณะเฉพาะตน เป็นแหล่ง เรียนรู้ที่รื่นรมย์ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ช่วยให้พนักงานตระหนักรู้ในอัตลักษณ์ของตน
“สร้างนักธนาคารพัฒนาชนบท
เพื่อยกระดับเกษตรกรไทยสู่สังคมที่ภาคภูมิ”
พันธกิจ
- สร้างบุคลากรให้เป็นนักธนาคารพัฒนาชนบท ที่มีความรู้คู่คุณธรรม สอดคล้องกับอุดมการณ์ คำสอนของอาจารย์จำเนียร สาระนาค ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร (To Inspire)
- สร้างการมีส่วนร่วมแก่บุคลากร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการเข้าถึงความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน โดยมีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ ธ.ก.ส. เป็นศูนย์กลาง (To Engage)
- เผยแพร่ประวัติความเป็นมาของธนาคาร โครงการสำคัญ ตลอดจนพัฒนาการด้านสินเชื่อภาคการเกษตรของไทยแก่บุคลากรภายนอก อันเป็นการประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของธนาคาร (To Shared)
- พัฒนาศักยภาพให้พิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ ธ.ก.ส. เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้